บรรยากาศในห้องเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ นักศึกษาให้ความร่วมมือและออกมานำเสนอกัน ร่วมแสดงควมคิดเห็น มีการถาม - ตอบ ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น และทำกิจกรรมการจัดการเรียนรู้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ เพื่อให้รู้หลักการจัดกิจกรรม ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมจนจบ
เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ
1. นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์
- นาฬิกาธรรมชาติ (ทราย,น้ำ,น้ำมัน) เรื่อง เวลา
- ลวดเต้นระบำ เรื่อง การหมุนของเส้นลวด
- วงโคจรของโลก เรื่อง การโคจรของโลก
- ทวินเพลน เรื่อง แรงเสียดทาน
- กล่องระบบสุริยะจักรวาล เรื่อง ดวงดาวต่างๆ
- ผีเสื้อเริงระบำ เรื่อง การดึงดูดแม่เหล็ก
- ลานหรรษา เรื่อง การเคลื่อนไหวลักษณะต่างๆ
- ไข่มหัศจรรย์ เรื่อง การเปรียบเทียบ , จับคู่
- ภาพใต้น้ำ เรื่อง การหักเหของแสง
ความรู้ที่ได้รับ
- ได้เห็นการทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย และสามารถนำไปดัดแปลงเพิ่มเติมได้ในการประดิษฐ์ เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน
2. การจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
- การบูรณาการ เป็นการเชื่อมโยงให้สอดคล้องและสัมพันธ์กัน
- หลักการเลือกหัวเรื่องนั้นควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กและเป็นสิ่งที่เด็กอยากรู้
- มีความสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต , ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม , สารและสมบัติของสาร , แรงและการเคลื่อนที่ , พลังงาน , กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก , ดาราศาสตร์และอวกาศ , ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ สร้างประเด็นปัญหา , การตั้งสมมติฐาน , การทดลอง ใช้การสังเกตเพื่อรวบรวมข้อมูล , การวิเคราะห์ข้อมูล , การสรุปและนำเสนอ
(ภาพประกอบการทำกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์)
3. เอลนีโญและลานีญา
เอลนีโญ คือ การที่ผิวน้ำทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนอุ่นขึ้น แบะแผ่ขยายกว้างไกลออกไป เป็นเวลานาน 3 ฤดูกาลหรือมากกว่า ในทางกลับกันถ้าผิวน้ำทะเลบริเวณนี้เย็นลงจะเรียกว่า ลานิญา
4. คำศัพท์
1. Orbit = การโคจร
2. Friction = การเสียดทาน
3. Appeal to = การดึงดูด
4. Compare = การเปรียบเทียบ
5. Environment = สิ่งแวดล้อม
การนำไปประยุกต์ใช้
- เขียนแผนผังกราฟฟิกให้เข้าใจง่ายและเหมาะสมมากขึ้น
- สามารถนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการเรียนการสอนได้ เช่น การทดลอง การสังเกต
- ออกแบบกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ เช่น การประดิษฐ์ของเล่น
- มีการทดลองเพื่อหาข้อมูลไปสู่การนำไปใช้
- รู้จักวิธีการประดิษฐ์สื่อหรือของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาศตร์ได้มากขึ้น
การประเมิน
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มาตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจง่าย เพราะอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้อย่างละเอียดทุกเรื่อง มีคำแนะนำและรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาอยู่เสมอ ใช้คำถามประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมระหว่างการนำเสนอและการทำกิจกรรม เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้ถามและอธิบายให้เข้าใจ มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ลองทำด้วยตนเอง ซึ่งทำให้นักศึกษาได้ความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์มากขึ้น
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ จดความรู้ที่ได้รับ ให้ความร่วมมือกันใกนารทำงานกลุ่ม
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม รับฟังความคิดของเพื่อน พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น