
บรรยากาศในห้องเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ของแต่ละหน่วย นักศึกษาให้ความร่วมมือและออกมานำเสนอกัน ร่วมแสดงควมคิดเห็น มีการถาม - ตอบ ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น และมีการเรียนรู้มาตรฐานการบูรณาการวิทยาศาสตร์ทั้ง 8 สาระ อาจารย์อธิบายและยกตัวอย่าง ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น
เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ
1. นำเสนอการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
หน่วย ส้ม
หน่วย ไก่
หน่วยข้าว
หน่วย กล้วย
หน่วย น้ำ
หน่วย นม
2. มาตรฐานการบูรณาการวิทยาศาสตร์
*สังเกตและบอกส่วนประกอบ หน้าที่ และบันทึกจากหน่วยต่างๆ
- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถาม รับฟังความคิดของเพื่อน พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน
หน่วย ส้ม
หน่วย ไก่
หน่วยข้าว
หน่วย กล้วย
หน่วย น้ำ
* สามารถใช้ภาพประกอบการทำได้
2. มาตรฐานการบูรณาการวิทยาศาสตร์
*สังเกตและบอกส่วนประกอบ หน้าที่ และบันทึกจากหน่วยต่างๆ
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่นประเทศและโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐานว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
3. คำศัพท์
1. Duty = หน้าที่
2. Sanitation = สุขอนามัย
3. Organism = สิ่งมีชีวิต
4. Criterion = เกณฑ์
5. Exert = ออกแรง
5. Exert = ออกแรง
การนำไปประยุกต์ใช้
- เขียนแผนผังกราฟฟิกให้เข้าใจง่ายและเหมาะสมมากขึ้น
- สามารถนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการเรียนการสอนได้ เช่น การทดลอง การสังเกต
- ออกแบบกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ เช่น การประดิษฐ์ของเล่น
- มีการทดลองเพื่อหาข้อมูลไปสู่การนำไปใช้
- รู้จักวิธีการประดิษฐ์สื่อหรือของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาศตร์ได้มากขึ้น
การประเมิน
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มาตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจง่าย เพราะอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้อย่างละเอียดทุกเรื่อง มีคำแนะนำและรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาอยู่เสมอ ใช้คำถามประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมระหว่างการนำเสนอ เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้ถามและอธิบายให้เข้าใจ ซึ่งทำให้นักศึกษาได้ความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์และการบูรณาการมาตรฐานวิทยาศาสตร์มากขึ้น
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน อาจทำผิดพลาดไปบ้างแต่ก็จะนำข้อแก้ไขที่อาจารย์แนะนำไปปรับใช้ในครั้งหน้า แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ จดความรู้ที่ได้รับ
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถาม รับฟังความคิดของเพื่อน พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น