วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความและวิจัย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยินดีต้อนรับ เคลื่อนไหว

บทความ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  วิทยาศาสตร์ช่วยให้เข้าใจเรื่องตนเองและครอบครัว  ทำให้รู้จักการพยายามหาความเข้าใจและหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล  พยายามเขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล   เด็กๆส่วนมากจะมีความอยากรู้อยากเห็น  และหาความรู้ต่างๆ จากสิ่งรอบตัว  ซึ่งสามารถสังเกตเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับ หิน ดิน ทราย อากาศ  พลังงาน  แม่เหล็ก สามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน  ซึ่งจะทำให้เด็กปฐมวัยสามารถแก้ปัญหาได้จากการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ  และกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ  ทำให้เด็กได้ความรู้  พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในการสังเกต  การจำแนกประเภท  การเรียงลำดับ  การคาดคะเน ทำให้เด็กสนใจและเหตุการณ์นั้นๆ
   การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จะทำให้เกิดทั้งความรู้  ทักษะต่างๆ การจัดการ ความคิดและข้อเท็จจริง  จะทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนอย่างธรรมชาติ ปฏิบัติด้วยตนเอง  สร้างความมั่นใจให้เด็ก  ซึ่งจะทำให้เกิดความสำเร็จ  และการสนับสนุนความอยากรู้อยากเห็นของเด็กนั้น ยังทำให้เด็กได้รู้จักการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล ด้วยตนเองได้


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นเคลื่อนไหว

วิจัยเรื่อง ผลจากการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของ ยุพาภรณ์  ชูสาย

ความมุ่งหมายของวิจัย

- เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของวิจัย

- เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

- เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี  โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน)  จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งหมด 6 ห้อง เรียน  จำนวน  180 คน

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  การจัดการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2. ตัวแปรตาม  คือ  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  4  ทักษะ  ได้แก่  ทักษะการสังเกต , ทักษะการจำแนกประเภท ,  ทักษะการหามิติสัมพันธ์  ,  ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

ระยะเวลาการทดลอง

- ระยะเวลา  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  3  วัน  วันละ 40 นาที  จำนวน 24 ครั้ง

สมมุติฐานการทำวิจัย

-  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าการทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย

1. กำหนดกลุ่มตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด  6  ห้องเรียน จับฉลากมา 1 ห้องเรียน
2. สุ่มจับฉลากอีกครั้งเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนในการวิจัย

1. ขอความร่วมมือผู้บริหารโรงเรียน
2. ชี้แจงให้ครูประจำชั้นทราบรูปแบบการวิจัย
3. สร้างความคุ้นเคยกับเด็กเป็นเวลา 3 สัปดาห์
4. ทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่สร้างขึ้น
5. ดำเนินการทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติ
6. ประเมินหลังการทดลองด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. หาค่าสถิติพื้นฐานแสดงคะแนนเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้แผนกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

ชื่อกิจกรรม  การขยี้ , การขยำ

จุดประสงค์

1. ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. ส่งเสริมให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมของตนเอง
3. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการรู้
4. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง

การดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ

- ครูนำดอกไม้สีต่างๆให้เด็กดู และมาหยิบคนละ 1 ดอก พร้อมแบ่งกลุ่มตามสีดอกไม้ที่เด็กเลือก

ขั้นสอน

1. นั่งตามกลุ่มสีดอกไม้
2. ครูถามเด็กๆ ว่ารู้จักดอกไม้ที่เลือกหรือไม่ , ดอกไม้มีสีอะไรบ้าง และมีลักษณะอย่างไร , เด็กๆลองขยี้และสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
3. ครูแจกกระดาษ A4 และให้เด็กนำดอกไม้ขยี้ลงบนกระดาษและสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
4. ครูและเด็กช่วยกันคิดว่านอกจากจะขยี้ดอกไม้ให้เกิดสีแล้วมีวิธีใดอีกบ้างที่จะทำให้ดอกไม้เกิดสี
5. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้เด็กๆช่วยกันเก็บอุปกรณ์

ขั้นสรุป

1. ครูให้เด็กๆ ออกมานำเสนอผลงานของตนเองจากการขยี้ดอกไม้ให้เกิดสีว่าเป็นอย่างไร
2. ครูและเด็กสรุปสิ่งที่ได้จากการทดลอง

สื่ออุปกรณ์

1. กระดาษ A4
2. ดอกไม้สีต่างๆ

การประเมินผล

1. ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
2. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
3. สังเกตการตอบคำถาม การสรุปผลการทดลอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นเคลื่อนไหว

การเรียนรู้ครั้งที่ 16 วันที่ 21 พฤศจิกายน เวลา 13.30 - 17.30


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยินดีต้อนรับ เคลื่อนไหว

บรรยากาศในห้องเรียน


อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอนหน่วยแต่ละกลุ่มของวันที่ได้รับมอบหมาย  นักศึกษาให้ความร่วมมือกันทำกิจกรรม ร่วมแสดงควมคิดเห็น  มีการถาม - ตอบ ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น  และมีการแนะนำอธิบายเพิ่มเติมระหว่างการสอน  ทุกคนตั้งใจและให้ความร่วมมือตลอดการเรียนและการทำกิจกรรม

เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ



1. การสอนตามวันแต่ละหน่วย


กลุ่มที่ 1 วันจันทร์ หน่วยไก่





การทำกิจกรรมหน่วยไก่

- ครูสอนอ่านคำคล้องจองไก่  "ไก่เอ๋ยไก่"
- ครูถามเด็กๆว่าคิดว่าอะไรอยู่ในกล่อง และให้หยิบไก่ออกมาทีละตัวและให้เด็กนับ โดยบอกชื่อว่าเป็นไก่อะไร
- นับไก่ทีละตัวและใส่เลขกำกับ
- ครูให้เด็กออกมาแยกไก่แต่ละสายพันธุ์ออกจากกัน และดูว่าไก่สายพันธุ์ไหนมากที่สุด และใส่เลขกำกับ พร้อมเปรียบเทียบว่าไก่ชนมากที่สุดกว่าไก่อื่นๆ


กลุ่มที่ 2 วันอังคาร หน่วยนม




การทำกิจกรรมหน่วยนม

- ครูใช้ปริศนาคำทายกับเด็กในขั้นนำ
- ครูให้เด็กๆ แยกประเภทของนม โดยมีความเหมือนหรือแตกต่างกัน ตามหัวข้อ สี , กลิ่น , รสชาติ , สถานะ
- ครูให้เด็กๆ ลองทำกิจกรรมด้วยการสังเกต การดมกลิ่น ชิมรสชาติของนมแต่ละรสว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

กลุ่มที่ 3 วันพุธ หน่วยข้าว (น้ำหมักมหัศจรรย์)






การทำกิจกรรมน้ำหมักมหัศจรรย์

- ครูสอนอ่านคำคล้องจอง เรื่องข้าว
- ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองสามารถดูแลรักษาข้าวได้อย่างไร และนอกจากคำคล้องของมีการดูแลรักษาข้าวได้อย่างไรบ้าง
- ครูจัดกิจกรรมการทำน้ำหมักมหัศจรรย์  เริ่มแนะนำอุปกรณ์และส่วนผสม
- สาธิตการทำน้ำหมักมหัศจรรย์  
1. หั่นส่วนผสม ข่า , สะเดา และตะไคร้ให้ขนาดเท่ากับ 1 ข้อนิ้ว ให้ตัวแทนเด็กออกมาร่วมทำกิจกรรม
2. นำส่วนผสมแต่ละอย่างใส่รวมกันในกะละมังที่เตรียมไว้
3. เทน้ำใส่ลงไปและทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน จะได้น้ำหมักมหัศจรรย์
- แบ่งกลุ่มและแจกอุปกรณ์ ส่วนผสมการทำน้ำหมักให้เด็กๆทำ
- สรุปกิจกรรมว่าเด็กทำกิจกรรมอะไร และสามารถนำไปทำอะไรได้

กลุ่มที่ 4 วันพฤหัสบดี หน่วยกล้วย






การทำกิจกรรมของหน่วยกล้วย

- ครูใช้การสอนโดยการเล่านิทาน เรื่อง กล้วยกล้วยของหนูนิด
- เมื่อนิทานจบเรื่องแล้ว ครูจะถามความรู้ที่ได้จากนิทาน และความรู้เพิ่มเติมนอกจากในนิทาน 
- ครูบันทึกตามคำพูดของเด็กลงในตาราง โดยมีหัวข้อประโยชน์และข้อควรระวัง และให้เด็กๆได้ร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ว่ามีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

กลุ่มที่ 5 วันศุกร์ หน่วยน้ำอัญชัน

อาจารย์อธิบายวัสดุอุปกรณ์ และส่วนผสมของการทำน้ำอัญชัน

จัดเตรียมฐาน 4 ฐาน และแบ่งกลุ่มเด็กแต่ละฐาน

ฐานที่ 1 ล้างส่วนผสม 

ฐานที่ 2 นำส่วนผสมมาคั้นเป็นน้ำ

ฐานที่ 3 นำน้ำที่ได้จากฐานที่ 2 มาต้มให้เข้ากัน

ฐานที่ 4  นำน้ำอัญชันมาเติมรสชาติใส่น้ำเชื่อม , น้ำผึ้ง , น้ำมะนาว ได้ตามที่ต้องการ

กลุ่มที่ 6 วันพุธ หน่วยส้ม


การทำกิจกรรม เรื่อง การถนอมอาหาร

- ครูให้จับกลุ่มและเริ่มเล่นเกมภาพตัดต่อส้มเชื่อมและส้มสด
- ครูนำส้มสดและส้มเชื่อมมาให้เด็กดู ดมกลิ่น และชิมรสชาติ
- ครูถามเด็กๆว่า ชอบส้มไหนมากกว่ากันระหว่างส้มเชื่อมและส้มสด และให้นำสติ๊กเกอร์ไปติดบนตารางในช่องที่แบ่งระหว่างส้มสดและส้มเชื่อม
- ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์และใส่เลขกำกับ
- ครูถามเด็กว่าชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากัน และเพราะอะไร

กิจกรรมประดิษฐ์ขวดบ้าพลัง (หน่วยส้ม)

- ครูให้เด็กๆดูคลิปวิธีการประดิษฐ์ขวดบ้าพลังและให้เด็กๆทำตาม
- เมื่อเด็กๆทำเสร็จให้นำขวดบ้าพลังของตนเองมาดีดแข่งกัน
- ให้เด็กๆสังเกตว่าของใครไกลมากที่สุด และเพราะอะไร
- ให้เด็กๆสังเกตว่าของใครน้อยที่สุด และเพราะอะไร

ความรู้ที่ได้รับจากการสอนของแต่ละหน่วย

        ได้รู้วิธีการสอนของแต่ละวันและแต่ละหน่วย ว่ามีกิจกรรมที่หลากหลาย ที่สามารถนำไปเชื่อมโยงได้หลายศาสตร์  และรู้การสอนแบบ Stem มากขึ้น  ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  และสามารถคิดแก้ไขปัญหาในการทำกิจกรรมได้

2. คำศัพท์

1. Gamecock  = ไก่ชน
2. Milk chocolate = นมช็อกโกแลต
3. Enzyme lonic Plasma = น้ำหมักชีวภาพ
4. Butterfly pea  =  ดอกอัญชัน
5. Citrus connection  =  ส้มเชื่อม

การนำไปประยุกต์ใช้  


- สามารถนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการเรียนการสอนได้
- เขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
- จัดกิจกรรมได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น

การประเมิน


ประเมินอาจารย์

- อาจารย์มาตรงเวลา  มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจง่าย เพราะอาจารย์อธิบายการสอนและความรู้เพิ่มเติมได้อย่างละเอียดทุกเรื่อง มีคำแนะนำและรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาอยู่เสมอ  ใช้คำถามประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมระหว่างการเรียน เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้ถามและอธิบายให้เข้าใจ  

ประเมินตนเอง

- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ จดความรู้ที่ได้รับ ให้ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมตลอดการเรียน

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม รับฟังความคิดของเพื่อน พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้น เคลื่อนไหว

การเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันที่ 15 พฤศจิกายน เวลา 13.30 - 17.30

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยินดีต้อนรับ เคลื่อนไหว

บรรยากาศในห้องเรียน


อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ของแต่ละหน่วย นักศึกษาให้ความร่วมมือกันทำกิจกรรม ร่วมแสดงควมคิดเห็น  มีการถาม - ตอบ ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น  และเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละวันให้เรียบร้อย  ทุกคนตั้งใจและให้ความร่วมมือตลอดการเรียน

เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


1.จับกลุ่มตามหน่วยต่างๆ




2. แจกแผนการจัดประสบการณ์ (หน่วยข้าว)  

หน่วยข้าว

- วันจันทร์  เรื่อง ประเภทของข้าว
- วันอังคาร เรื่อง ลักษณะของข้าว
- วันพุธ เรื่อง การดูแลรักษาข้าว
- วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์และโทษของข้าว
- วันศุกร์ เรื่อง Cooking ข้าวไข่พระอาทิตย์

*โดยแบ่งกระดาษเขียนแผนและให้แต่ละคนในกลุ่มเขียนแผนตามวันที่ตนเองเลือก

แผนการจัดประสบการณ์วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยน์และโทษของข้าว (แบบร่าง)

แผนการจัดประสบการณ์วันพฤหัสบดี 
เรื่องประโยชน์และโทษของข้าว (วันที่เลือกแบบสมบูรณ์)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เด็กรู้จักประโยชน์และโทษของข้าว
2. เพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
3. เพื่อให้เด็กรู้จักการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

สาระที่ควรเรียนรู้

- ประโยชน์และโทษของข้าว

ประสบการณ์สำคัญ

ด้านสังคม

- การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

ด้านสติปัญญา

- การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน

กิจกรรมการเรียนรู้

- ขั้นนำ

1. ครูเล่านิทานให้เด็กๆฟัง เรื่อง ประโยชน์และโทษของข้าว

- ขั้นสอน

2. ครูถามเด็กว่าประโยชน์ของข้าวมีอะไรบ้าง  และโทษของข้าวมีอะไรบ้าง พร้อมบันทึกคำพูดของเด็กลงในตาราง

- ขั้นสรุป

3. ครูสรุปประโยชน์และโทษของข้าวว่ามีอะไรบ้างให้เด็กฟัง

สื่อ

- นิทาน

การวัดและประเมินผล

1. สังเกตการตอบคำถามของเด็กว่ารู้จักประโยชน์และโทษของข้าวหรือไม่
2. สังเกตการแสดงความคิดเห็นร่วมกันของเด็ก
3. สังเกตการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

การบูรณาการ

1. ภาษา
2. วิทยาศาสตร์

ขั้นนำเพิ่มเติม

- นิทาน 
- เพลง
- คำคล้องจอง
- ปริศนาคำทาย
- เกมการศึกษา

* ควรเลือกให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะสอน และเชื่อมโยงกับขั้นสอนในแผนตามวันนั้นๆ

การวัดและประเมินผล

- แบบสังเกตปลายเปิด
- สนทนากับเด็ก พ่อแม่ ในประเด็นที่มองไม่เห็น
- เครื่องมือที่เป็นแบบบันทึกการสนทนา
- ประเมินผลงานและชิ้นงานของเด็ก โดยมีเกณฑ์ที่มาจากพัฒนาการเด็ก (Portfolio)
- การสัมภาษณ์ไม่เหมาะสำหรับเด็ก แต่จะใช้ทำวิจัย
- แบบทดสอบ

*ควรมีการบูรณาการด้านต่างๆในแผนการจัดประสบการณ์เพราะจะเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตจริง

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้จักวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่จะสามารถนำไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอนในอนาคตให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น


3. คำศัพท์

1. Unti = หน่วย
2. Open end-questions = ปลายเปิด
3. Tool  = เครื่องมือ
4. Record  =  บันทึก
5. Connect  =  เชื่อมโยง

การนำไปประยุกต์ใช้  


- สามารถนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการเรียนการสอนได้
- เขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

การประเมิน


ประเมินอาจารย์

- อาจารย์มาตรงเวลา  มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจง่าย เพราะอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้อย่างละเอียดทุกเรื่อง มีคำแนะนำและรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาอยู่เสมอ  ใช้คำถามประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมระหว่างการเรียน เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้ถามและอธิบายให้เข้าใจ  

ประเมินตนเอง

- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ อาจไม่เข้าใจบางเรื่องแต่ก็พยายามที่จะเข้าใจให้ได้ค่ะ    จดความรู้ที่ได้รับ ให้ความร่วมมือกันในการทำงานกลุ่ม

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม รับฟังความคิดของเพื่อน พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้น เคลื่อนไหว

การเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 13.30 - 17.30

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยินดีต้อนรับ เคลื่อนไหว


ไม่มีการเรียนการสอน  ทำกิจกรรมสาธิตการสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยใช้เสียงเปียโน








ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้น เคลื่อนไหว

การเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันที่ 1 พฤศจิกายน เวลา 13.30 - 17.30

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยินดีต้อนรับ เคลื่อนไหว

บรรยากาศในห้องเรียน


อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวีดีโอ การทำของเล่นวิทยาศาสตร์ ของแต่ละกลุ่ม นักศึกษาร่วมกันติชมวีดีโอของแต่ละกลุ่มและ อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำคลิปวีดีโอเพิ่มเติม  และจับกลุ่มการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ของแต่ละหน่วย  นักศึกษาให้ความร่วมมือกันทำกิจกรรม ร่วมแสดงควมคิดเห็น  มีการถาม - ตอบ ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น  และมีการเรียนรู้มาตรฐานการบูรณาการวิทยาศาสตร์ทั้ง 8 สาระ และการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กด้วย  อาจารย์อธิบายและยกตัวอย่าง ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


1. ดูคลิปวีดีโอการประดิษฐ์ของเล่น


กลุ่มที่ 1 ขวดบ้าพลัง    วีดีโอ การประดิษฐ์ขวดบ้าพลัง
กลุ่มที่ 2 พลังปริศนา    วีดีโอ การประดิษฐ์พลังปริศนา
กลุ่มที่ 3 รถหลอดด้าย  วีดีโอ การประดิษฐ์รถหลอดด้าย
กลุ่มที่ 4 ลูกข่างนักสืบ  วีดีโอ การประดิษฐ์ลูกข่างนักสืบ

ความรู้ที่ได้รับ

-  เป็นสื่อที่มีโอกาสที่จะส่งเสริมเปิดโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์  ได้เรียนรู้ทุกนาที
-  มีคำศัพท์ ตัวหนังสือ  บอกจำนวนอุปกรณ์และขั้นตอนการทำให้ชัดเจน
-  สรุป ทบทวนขั้นตอนการทำในท้ายคลิป
-  เป็นสื่อตัวหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนแบบ Stem
-  ควรมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เป็นการสร้างประเด็นปัญหา ,  ทดลอง และสรุปผล
-  เป็นสื่อการสอนโดยการเรียนรู้ผ่านสื่อ

2. แบ่งกลุ่มตามหน่วยต่างๆ 




หน่วยข้าว 




ทักษะ มาตรฐาน กระบวนการต่างๆ ของวิชาคณิตศาสตร์ , วิทยาศาสตร์ , ภาษา , ศิลปะ
สังคม และสุขศึกษา / พลศึกษา

1. คณิตศาสตร์  6 มาตรฐาน

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 สาระและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

2. วิทยาศาสตร์  8 ทักษะ 

1. การสังเกต
2. การวัด
3. การคำนวณ
4. การจำแนกประเภท
5. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกบัสเปส  และสเปสกับเวลา
6. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
7. การลงความเห็นจากข้อมูล
8. การพยากรณ์

8 มาตรฐาน

สาระที่ 1 สิ่งที่ต้องเรียนรู้  สืบหาความรู้ , การนำความรู้ไปใช้ , การนำเสนอ
สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม   สิ่งต่างๆรอบตัว , สถานที่
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร  สิ่งต่างๆรอบตัว เช่น  น้ำ , น้ำมัน , การเปลี่ยนสถานะ
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่  แรงดันต่างๆ  แรงแม่เหล็ก , พลังงานแม่เหล็ก
สาระที่ 5 พลังงาน  พลังงานที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น พลังงานจล
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก  เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ  โลก , ดวงอาทิตย์ , ดวงจันทร์
สาระที่ 8 ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เช่น โทรทัศน์ , การเปลี่ยนแปลงทางสังคม , บริบท , การใช้เครื่องมือสิ่งของ

กระบวนการวิทยาศาสตร์

1. กำหนดขอบเขตของปัญหา
2. ตั้งสมมติฐาน
3. ทดลองและรวบรวมข้อมูล
4. วิเคราะห์ข้อมูล
5. สรุปผลจากการสังเกต รับรองสมมติฐาน

3. ภาษา

- การฟัง , พูด , อ่าน , เขียน

4. ศิลปะ

- การวาดภาพระบายสี
- การปั้น
- การฉีก / ตัด / แปะ
- การประดิษฐ์
- การเล่นสี
- การพิมพ์ภาพ

5. สังคม

- การช่วยเหลือตนเอง (งานเดี่ยว)
- การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (งานคู่ , งานกลุ่ม)

ทักษะ

- การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
- การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
- การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน
- การเข้าสถานการณ์ที่หลากหลายในสังคม

6. สุขศึกษาและพลศึกษา

- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
- กิจกรรมกลางแจ้ง

หลักการจัดกิจกรรม 6 กิจกรรม

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา


ความรู้เพิ่มเติม

- เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก  ลักษณะกิจกรรมสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ โดยการให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง  มีส่วนร่วมในการทำงานเดี่ยว และงานกลุ่ม  เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

- การนำการจัดกิจกรรมหลัก  6  กิจกรรม มาใช้ เพราะสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

* กิจกรรมเสรีและกิจกรรมศิลปะควรเป็นกิจกรรมที่อยู่ด้วยกัน เพราะกิจกรรมศิลปะ มีการใช้เวลาในการทำกิจกรรมของแต่ละคน
* กิจกรรมกลางแจ้งควรจัดก่อนทานอาหารเพราะ เมื่อเด็กเล่นเหนื่อยมากๆ จะทำให้หิวข้าว

3. คำศัพท์

1. Clear = ความชัดเจน
2. Accord = สอดคล้อง
3. Procedures = ขั้นตอนการทำ
4. Matter  =  สสาร
5. Prophecy  = พยากรณ์

การนำไปประยุกต์ใช้  


- เขียนแผนผังกราฟฟิกให้เข้าใจง่ายและเหมาะสมมากขึ้น
- สามารถนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการเรียนการสอนได้  เช่น การทดลอง การสังเกต
- ออกแบบกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ เช่น การประดิษฐ์ของเล่น
- มีการทดลองเพื่อหาข้อมูลไปสู่การนำไปใช้  
- รู้จักวิธีการประดิษฐ์สื่อหรือของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาศตร์ได้มากขึ้น

การประเมิน


- อาจารย์มาตรงเวลา  มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจง่าย เพราะอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้อย่างละเอียดทุกเรื่อง มีคำแนะนำและรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาอยู่เสมอ  ใช้คำถามประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมระหว่างการเรียน เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้ถามและอธิบายให้เข้าใจ  

ประเมินตนเอง

- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ อาจไม่เข้าใจบางเรื่องแต่ก็พยายามที่จะเข้าใจให้ได้ค่ะ    จดความรู้ที่ได้รับ ให้ความร่วมมือกันในการทำงานกลุ่ม 

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม รับฟังความคิดของเพื่อน พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้น เคลื่อนไหว