วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความและวิจัย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยินดีต้อนรับ เคลื่อนไหว

บทความ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  วิทยาศาสตร์ช่วยให้เข้าใจเรื่องตนเองและครอบครัว  ทำให้รู้จักการพยายามหาความเข้าใจและหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล  พยายามเขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล   เด็กๆส่วนมากจะมีความอยากรู้อยากเห็น  และหาความรู้ต่างๆ จากสิ่งรอบตัว  ซึ่งสามารถสังเกตเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับ หิน ดิน ทราย อากาศ  พลังงาน  แม่เหล็ก สามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน  ซึ่งจะทำให้เด็กปฐมวัยสามารถแก้ปัญหาได้จากการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ  และกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ  ทำให้เด็กได้ความรู้  พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในการสังเกต  การจำแนกประเภท  การเรียงลำดับ  การคาดคะเน ทำให้เด็กสนใจและเหตุการณ์นั้นๆ
   การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จะทำให้เกิดทั้งความรู้  ทักษะต่างๆ การจัดการ ความคิดและข้อเท็จจริง  จะทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนอย่างธรรมชาติ ปฏิบัติด้วยตนเอง  สร้างความมั่นใจให้เด็ก  ซึ่งจะทำให้เกิดความสำเร็จ  และการสนับสนุนความอยากรู้อยากเห็นของเด็กนั้น ยังทำให้เด็กได้รู้จักการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล ด้วยตนเองได้


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นเคลื่อนไหว

วิจัยเรื่อง ผลจากการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของ ยุพาภรณ์  ชูสาย

ความมุ่งหมายของวิจัย

- เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของวิจัย

- เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

- เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี  โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน)  จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งหมด 6 ห้อง เรียน  จำนวน  180 คน

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  การจัดการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2. ตัวแปรตาม  คือ  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  4  ทักษะ  ได้แก่  ทักษะการสังเกต , ทักษะการจำแนกประเภท ,  ทักษะการหามิติสัมพันธ์  ,  ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

ระยะเวลาการทดลอง

- ระยะเวลา  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  3  วัน  วันละ 40 นาที  จำนวน 24 ครั้ง

สมมุติฐานการทำวิจัย

-  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าการทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย

1. กำหนดกลุ่มตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด  6  ห้องเรียน จับฉลากมา 1 ห้องเรียน
2. สุ่มจับฉลากอีกครั้งเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนในการวิจัย

1. ขอความร่วมมือผู้บริหารโรงเรียน
2. ชี้แจงให้ครูประจำชั้นทราบรูปแบบการวิจัย
3. สร้างความคุ้นเคยกับเด็กเป็นเวลา 3 สัปดาห์
4. ทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่สร้างขึ้น
5. ดำเนินการทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติ
6. ประเมินหลังการทดลองด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. หาค่าสถิติพื้นฐานแสดงคะแนนเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้แผนกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

ชื่อกิจกรรม  การขยี้ , การขยำ

จุดประสงค์

1. ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. ส่งเสริมให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมของตนเอง
3. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการรู้
4. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง

การดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ

- ครูนำดอกไม้สีต่างๆให้เด็กดู และมาหยิบคนละ 1 ดอก พร้อมแบ่งกลุ่มตามสีดอกไม้ที่เด็กเลือก

ขั้นสอน

1. นั่งตามกลุ่มสีดอกไม้
2. ครูถามเด็กๆ ว่ารู้จักดอกไม้ที่เลือกหรือไม่ , ดอกไม้มีสีอะไรบ้าง และมีลักษณะอย่างไร , เด็กๆลองขยี้และสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
3. ครูแจกกระดาษ A4 และให้เด็กนำดอกไม้ขยี้ลงบนกระดาษและสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
4. ครูและเด็กช่วยกันคิดว่านอกจากจะขยี้ดอกไม้ให้เกิดสีแล้วมีวิธีใดอีกบ้างที่จะทำให้ดอกไม้เกิดสี
5. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้เด็กๆช่วยกันเก็บอุปกรณ์

ขั้นสรุป

1. ครูให้เด็กๆ ออกมานำเสนอผลงานของตนเองจากการขยี้ดอกไม้ให้เกิดสีว่าเป็นอย่างไร
2. ครูและเด็กสรุปสิ่งที่ได้จากการทดลอง

สื่ออุปกรณ์

1. กระดาษ A4
2. ดอกไม้สีต่างๆ

การประเมินผล

1. ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
2. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
3. สังเกตการตอบคำถาม การสรุปผลการทดลอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นเคลื่อนไหว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น