
บรรยากาศในห้องเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอนหน่วยแต่ละกลุ่มของวันที่ได้รับมอบหมาย นักศึกษาให้ความร่วมมือกันทำกิจกรรม ร่วมแสดงควมคิดเห็น มีการถาม - ตอบ ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น และมีการแนะนำอธิบายเพิ่มเติมระหว่างการสอน ทุกคนตั้งใจและให้ความร่วมมือตลอดการเรียนและการทำกิจกรรม
เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ
1. การสอนตามวันแต่ละหน่วย
กลุ่มที่ 1 วันจันทร์ หน่วยไก่
- ครูสอนอ่านคำคล้องจองไก่ "ไก่เอ๋ยไก่"
- ครูถามเด็กๆว่าคิดว่าอะไรอยู่ในกล่อง และให้หยิบไก่ออกมาทีละตัวและให้เด็กนับ โดยบอกชื่อว่าเป็นไก่อะไร
- นับไก่ทีละตัวและใส่เลขกำกับ
- ครูให้เด็กออกมาแยกไก่แต่ละสายพันธุ์ออกจากกัน และดูว่าไก่สายพันธุ์ไหนมากที่สุด และใส่เลขกำกับ พร้อมเปรียบเทียบว่าไก่ชนมากที่สุดกว่าไก่อื่นๆ
การทำกิจกรรมหน่วยไก่
- ครูถามเด็กๆว่าคิดว่าอะไรอยู่ในกล่อง และให้หยิบไก่ออกมาทีละตัวและให้เด็กนับ โดยบอกชื่อว่าเป็นไก่อะไร
- นับไก่ทีละตัวและใส่เลขกำกับ
- ครูให้เด็กออกมาแยกไก่แต่ละสายพันธุ์ออกจากกัน และดูว่าไก่สายพันธุ์ไหนมากที่สุด และใส่เลขกำกับ พร้อมเปรียบเทียบว่าไก่ชนมากที่สุดกว่าไก่อื่นๆ
กลุ่มที่ 2 วันอังคาร หน่วยนม
การทำกิจกรรมหน่วยนม
- ครูใช้ปริศนาคำทายกับเด็กในขั้นนำ
- ครูให้เด็กๆ แยกประเภทของนม โดยมีความเหมือนหรือแตกต่างกัน ตามหัวข้อ สี , กลิ่น , รสชาติ , สถานะ
- ครูให้เด็กๆ ลองทำกิจกรรมด้วยการสังเกต การดมกลิ่น ชิมรสชาติของนมแต่ละรสว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
กลุ่มที่ 3 วันพุธ หน่วยข้าว (น้ำหมักมหัศจรรย์)
การทำกิจกรรมน้ำหมักมหัศจรรย์
- ครูสอนอ่านคำคล้องจอง เรื่องข้าว
- ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองสามารถดูแลรักษาข้าวได้อย่างไร และนอกจากคำคล้องของมีการดูแลรักษาข้าวได้อย่างไรบ้าง
- ครูจัดกิจกรรมการทำน้ำหมักมหัศจรรย์ เริ่มแนะนำอุปกรณ์และส่วนผสม
- สาธิตการทำน้ำหมักมหัศจรรย์
1. หั่นส่วนผสม ข่า , สะเดา และตะไคร้ให้ขนาดเท่ากับ 1 ข้อนิ้ว ให้ตัวแทนเด็กออกมาร่วมทำกิจกรรม
2. นำส่วนผสมแต่ละอย่างใส่รวมกันในกะละมังที่เตรียมไว้
3. เทน้ำใส่ลงไปและทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน จะได้น้ำหมักมหัศจรรย์
- แบ่งกลุ่มและแจกอุปกรณ์ ส่วนผสมการทำน้ำหมักให้เด็กๆทำ
- สรุปกิจกรรมว่าเด็กทำกิจกรรมอะไร และสามารถนำไปทำอะไรได้
กลุ่มที่ 4 วันพฤหัสบดี หน่วยกล้วย



การทำกิจกรรมของหน่วยกล้วย
- ครูใช้การสอนโดยการเล่านิทาน เรื่อง กล้วยกล้วยของหนูนิด
- เมื่อนิทานจบเรื่องแล้ว ครูจะถามความรู้ที่ได้จากนิทาน และความรู้เพิ่มเติมนอกจากในนิทาน
- ครูบันทึกตามคำพูดของเด็กลงในตาราง โดยมีหัวข้อประโยชน์และข้อควรระวัง และให้เด็กๆได้ร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ว่ามีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
กลุ่มที่ 5 วันศุกร์ หน่วยน้ำอัญชัน
![]() |
อาจารย์อธิบายวัสดุอุปกรณ์ และส่วนผสมของการทำน้ำอัญชัน |
![]() |
จัดเตรียมฐาน 4 ฐาน และแบ่งกลุ่มเด็กแต่ละฐาน |
![]() |
ฐานที่ 1 ล้างส่วนผสม |
![]() |
ฐานที่ 2 นำส่วนผสมมาคั้นเป็นน้ำ |
![]() |
ฐานที่ 3 นำน้ำที่ได้จากฐานที่ 2 มาต้มให้เข้ากัน |
![]() |
ฐานที่ 4 นำน้ำอัญชันมาเติมรสชาติใส่น้ำเชื่อม , น้ำผึ้ง , น้ำมะนาว ได้ตามที่ต้องการ |
กลุ่มที่ 6 วันพุธ หน่วยส้ม
การทำกิจกรรม เรื่อง การถนอมอาหาร
- ครูให้จับกลุ่มและเริ่มเล่นเกมภาพตัดต่อส้มเชื่อมและส้มสด
- ครูนำส้มสดและส้มเชื่อมมาให้เด็กดู ดมกลิ่น และชิมรสชาติ
- ครูถามเด็กๆว่า ชอบส้มไหนมากกว่ากันระหว่างส้มเชื่อมและส้มสด และให้นำสติ๊กเกอร์ไปติดบนตารางในช่องที่แบ่งระหว่างส้มสดและส้มเชื่อม
- ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์และใส่เลขกำกับ
- ครูถามเด็กว่าชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากัน และเพราะอะไร
กิจกรรมประดิษฐ์ขวดบ้าพลัง (หน่วยส้ม)
- ครูให้เด็กๆดูคลิปวิธีการประดิษฐ์ขวดบ้าพลังและให้เด็กๆทำตาม
- เมื่อเด็กๆทำเสร็จให้นำขวดบ้าพลังของตนเองมาดีดแข่งกัน
- ให้เด็กๆสังเกตว่าของใครไกลมากที่สุด และเพราะอะไร
- ให้เด็กๆสังเกตว่าของใครน้อยที่สุด และเพราะอะไร
ความรู้ที่ได้รับจากการสอนของแต่ละหน่วย
ได้รู้วิธีการสอนของแต่ละวันและแต่ละหน่วย ว่ามีกิจกรรมที่หลากหลาย ที่สามารถนำไปเชื่อมโยงได้หลายศาสตร์ และรู้การสอนแบบ Stem มากขึ้น ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และสามารถคิดแก้ไขปัญหาในการทำกิจกรรมได้
2. คำศัพท์
1. Gamecock = ไก่ชน
2. Milk chocolate = นมช็อกโกแลต
3. Enzyme lonic Plasma = น้ำหมักชีวภาพ
4. Butterfly pea = ดอกอัญชัน
5. Citrus connection = ส้มเชื่อม
2. Milk chocolate = นมช็อกโกแลต
3. Enzyme lonic Plasma = น้ำหมักชีวภาพ
4. Butterfly pea = ดอกอัญชัน
5. Citrus connection = ส้มเชื่อม
การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการเรียนการสอนได้
- เขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
- จัดกิจกรรมได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น
- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม รับฟังความคิดของเพื่อน พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน
- จัดกิจกรรมได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น
การประเมิน
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มาตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจง่าย เพราะอาจารย์อธิบายการสอนและความรู้เพิ่มเติมได้อย่างละเอียดทุกเรื่อง มีคำแนะนำและรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาอยู่เสมอ ใช้คำถามประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมระหว่างการเรียน เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้ถามและอธิบายให้เข้าใจ
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ จดความรู้ที่ได้รับ ให้ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมตลอดการเรียน
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม รับฟังความคิดของเพื่อน พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น