
บรรยากาศในห้องเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวีดีโอ การทำของเล่นวิทยาศาสตร์ ของแต่ละกลุ่ม นักศึกษาร่วมกันติชมวีดีโอของแต่ละกลุ่มและ อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำคลิปวีดีโอเพิ่มเติม และจับกลุ่มการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ของแต่ละหน่วย นักศึกษาให้ความร่วมมือกันทำกิจกรรม ร่วมแสดงควมคิดเห็น มีการถาม - ตอบ ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น และมีการเรียนรู้มาตรฐานการบูรณาการวิทยาศาสตร์ทั้ง 8 สาระ และการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กด้วย อาจารย์อธิบายและยกตัวอย่าง ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น
เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ
1. ดูคลิปวีดีโอการประดิษฐ์ของเล่น
กลุ่มที่ 1 ขวดบ้าพลัง วีดีโอ การประดิษฐ์ขวดบ้าพลัง
กลุ่มที่ 2 พลังปริศนา วีดีโอ การประดิษฐ์พลังปริศนา
กลุ่มที่ 3 รถหลอดด้าย วีดีโอ การประดิษฐ์รถหลอดด้าย
กลุ่มที่ 4 ลูกข่างนักสืบ วีดีโอ การประดิษฐ์ลูกข่างนักสืบ
ความรู้ที่ได้รับ
- เป็นสื่อที่มีโอกาสที่จะส่งเสริมเปิดโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ ได้เรียนรู้ทุกนาที
- มีคำศัพท์ ตัวหนังสือ บอกจำนวนอุปกรณ์และขั้นตอนการทำให้ชัดเจน
- สรุป ทบทวนขั้นตอนการทำในท้ายคลิป
- เป็นสื่อตัวหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนแบบ Stem
- ควรมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการสร้างประเด็นปัญหา , ทดลอง และสรุปผล
- เป็นสื่อการสอนโดยการเรียนรู้ผ่านสื่อ
2. แบ่งกลุ่มตามหน่วยต่างๆ
![]() |
หน่วยข้าว |
![]() |
ทักษะ มาตรฐาน กระบวนการต่างๆ ของวิชาคณิตศาสตร์ , วิทยาศาสตร์ , ภาษา , ศิลปะ สังคม และสุขศึกษา / พลศึกษา |
1. คณิตศาสตร์ 6 มาตรฐาน
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 สาระและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
2. วิทยาศาสตร์ 8 ทักษะ
1. การสังเกต
2. การวัด
3. การคำนวณ
4. การจำแนกประเภท
5. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกบัสเปส และสเปสกับเวลา
6. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
7. การลงความเห็นจากข้อมูล
8. การพยากรณ์
8 มาตรฐาน
สาระที่ 1 สิ่งที่ต้องเรียนรู้ สืบหาความรู้ , การนำความรู้ไปใช้ , การนำเสนอ
สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม สิ่งต่างๆรอบตัว , สถานที่
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร สิ่งต่างๆรอบตัว เช่น น้ำ , น้ำมัน , การเปลี่ยนสถานะ
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ แรงดันต่างๆ แรงแม่เหล็ก , พลังงานแม่เหล็ก
สาระที่ 5 พลังงาน พลังงานที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น พลังงานจล
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ โลก , ดวงอาทิตย์ , ดวงจันทร์
สาระที่ 8 ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น โทรทัศน์ , การเปลี่ยนแปลงทางสังคม , บริบท , การใช้เครื่องมือสิ่งของ
กระบวนการวิทยาศาสตร์
1. กำหนดขอบเขตของปัญหา
2. ตั้งสมมติฐาน
3. ทดลองและรวบรวมข้อมูล
4. วิเคราะห์ข้อมูล
5. สรุปผลจากการสังเกต รับรองสมมติฐาน
3. ภาษา
- การฟัง , พูด , อ่าน , เขียน
4. ศิลปะ
- การวาดภาพระบายสี
- การปั้น
- การฉีก / ตัด / แปะ
- การประดิษฐ์
- การเล่นสี
- การพิมพ์ภาพ
5. สังคม
- การช่วยเหลือตนเอง (งานเดี่ยว)
- การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (งานคู่ , งานกลุ่ม)
ทักษะ
- การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
- การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
- การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน
- การเข้าสถานการณ์ที่หลากหลายในสังคม
6. สุขศึกษาและพลศึกษา
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
- กิจกรรมกลางแจ้ง
หลักการจัดกิจกรรม 6 กิจกรรม
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา
ความรู้เพิ่มเติม
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา
- เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ลักษณะกิจกรรมสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ โดยการให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการทำงานเดี่ยว และงานกลุ่ม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
- การนำการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม มาใช้ เพราะสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
* กิจกรรมเสรีและกิจกรรมศิลปะควรเป็นกิจกรรมที่อยู่ด้วยกัน เพราะกิจกรรมศิลปะ มีการใช้เวลาในการทำกิจกรรมของแต่ละคน
* กิจกรรมกลางแจ้งควรจัดก่อนทานอาหารเพราะ เมื่อเด็กเล่นเหนื่อยมากๆ จะทำให้หิวข้าว
3. คำศัพท์
1. Clear = ความชัดเจน
2. Accord = สอดคล้อง
3. Procedures = ขั้นตอนการทำ
4. Matter = สสาร
5. Prophecy = พยากรณ์
5. Prophecy = พยากรณ์
การนำไปประยุกต์ใช้
- เขียนแผนผังกราฟฟิกให้เข้าใจง่ายและเหมาะสมมากขึ้น
- สามารถนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการเรียนการสอนได้ เช่น การทดลอง การสังเกต
- ออกแบบกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ เช่น การประดิษฐ์ของเล่น
- มีการทดลองเพื่อหาข้อมูลไปสู่การนำไปใช้
- รู้จักวิธีการประดิษฐ์สื่อหรือของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาศตร์ได้มากขึ้น
การประเมิน
- อาจารย์มาตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจง่าย เพราะอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้อย่างละเอียดทุกเรื่อง มีคำแนะนำและรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาอยู่เสมอ ใช้คำถามประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมระหว่างการเรียน เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้ถามและอธิบายให้เข้าใจ
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ อาจไม่เข้าใจบางเรื่องแต่ก็พยายามที่จะเข้าใจให้ได้ค่ะ จดความรู้ที่ได้รับ ให้ความร่วมมือกันในการทำงานกลุ่ม
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม รับฟังความคิดของเพื่อน พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน
- อาจารย์มาตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจง่าย เพราะอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้อย่างละเอียดทุกเรื่อง มีคำแนะนำและรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาอยู่เสมอ ใช้คำถามประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมระหว่างการเรียน เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้ถามและอธิบายให้เข้าใจ
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ อาจไม่เข้าใจบางเรื่องแต่ก็พยายามที่จะเข้าใจให้ได้ค่ะ จดความรู้ที่ได้รับ ให้ความร่วมมือกันในการทำงานกลุ่ม
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม รับฟังความคิดของเพื่อน พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น