วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันที่ 20 กันยายน เวลา 13.30 - 17.30

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยินดีต้อนรับ เคลื่อนไหว


บรรยากาศในห้องเรียน


วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้คัดลายมือโดยการเขียนให้ตรงเส้นครั้งที่ 2  ต่อด้วยกิจกรรมเขียนภาพมือของตนเอง ทุกคนตั้งใจทำและให้ความร่วมในการทำกิจกรรม  อาจารย์อธิบายภาพติดตาและภาพเคลื่อนไหวที่แต่ละคนนำมา  ว่าสามารถเปลี่ยนได้หลากหลาย  และให้ออกมานำเสนอของเล่นตนเอง โดยแบ่งเป็นเรื่องต่างๆ  ว่าของเล่นในเรื่องนั้นสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง และมีหลักวทยาศาสตร์เป็นอย่างไร  อาจารย์มีการทดลองเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำและการทดลองดอกไม้บาน  อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมอย่างตั้งใจ  และสนุกสนาน

เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


1. คัดลายมือครั้งที่ 2


ความรู้ที่ได้รับ

-  ได้ฝึกการคัดลายมือของตนเองให้เขียนคล่องแคล่วและสวยงามมากขึ้นเมื่อต้องนำไปใช้

2. ภาพมือ 3 มิติ

วิธีการทำ

1.  ให้นำกระดาษเปล่ามา และวาดรูปมือของตนเองโดยกางนิ้วให้ห่างกันเพื่อความสวยงาม



2. นำสี 1 สี มาลากเส้นตรงจากนอกมือและเมื่อลากเข้าไปในมือให้ลากเส้นโค้ง เมื่อออกจากมือแล้วให้ลากเส้นตรงแบบเดิมไปเรื่อยๆ จนครบทั้งมือ



3. ให้นำสีที่ต่างจากสีแรก มาลากเส้นแบบเดิมโดยให้ลากใกล้กับเส้นที่มีอยู่แล้ว ไปเรื่อยๆ จนครบทั้งมือ ก็จะได้เป็น "ภาพมือ  3 มิติ"



ความรู้ที่ได้รับ

-  ในการทำงานร่วมกับเด็กนั้นสามารถนำไปบูรณาการเรียนการสอนหรือเปลี่ยนรูปแบบได้หลากหลายให้น่าสนใจมากขึ้น  ซึ่งจะทำให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยตนเองได้โดยตรง 

3. ภาพติดตา - ภาพเปิดปิด

ภาพติดตา  เมื่อหมุนแล้วจะได้ภาพสุนัขคาบกระดูก

ภาพเปิด - ปิด  ด้านหน้าจะเป็นเด็กผู้หญิงยืนกางแขนและยิ้มหวาน
ภาพเปิด - ปิด  ด้านหลังจะเป็นเด็กผู้หญิงยืนชูมือและอ้าปาก

*ตัวอย่างภาพติดตาหลากหลายแบบ

แบบเด็กใส่ชุดอาเซียน




แบบหมุนเชือก


ความรู้ที่ได้รับ

-  ภาพติดตา , ภาพเปิด - เปิด  อาจมีวิธีการเดียวกัน  แต่มีสื่ออุปกรณ์ที่แตกต่างกันได้  หรือเทคนิควิธีการที่แตกต่างกัน  ควรมีวิธีการทำที่หลากหลายเพราะเด็กก็จะได้ประสบการณ์ที่หลากหลายขึ้นไปด้วยซึ่งจะนำไปส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้ดีขึ้น

4. หลักการวิทยาศาสตร์และการนำไปใช้ของเล่นวิทยาศาสตร์

เรื่อง แรงและจุดศูนย์ถ่วง 

- แรงศูนย์กลาง  , ภาพสีหมุนเป็นวงกลม
- จุดศูนย์ถ่วง , ไข่ล้มลุก
- แรงยืดหยุ่น , ธนูจิ๋ว
- แรงพยุง , ร่มชูชีพ
- แรงเป่า ,  กรวยรูปสัตว์ , เป่าหลอด
- แรงดันอากาศ , ลูกโป่งหมุน , เป่าแผ่นซีดี

ความรู้ที่ได้รับ

-  รูปแบบวัสดุควรมีหลากหลายรูปแบบ
-  อากาศจะไปหาที่อยู่เสมอเพราะอากาศมีตัวตนและต้องการที่อยู่  มีสถานะ  มีแรงดันอากาศที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้

เรื่อง  การเดินทางของเสียง

-  การเสียดสี  , แก้วส่งเสียง
-  การดีด  ,  กีต้าจิ๋ว
-  การตี  , กลองจิ๋ว

ความรู้ที่ได้รับ

-  การเกิดเสียงนั้นมาจากหลายสาเหตุซึ่งของเล่นแต่ละอย่างสามารถเปลี่ยนรูปแบบได้หลากหลายและเกิดประโยชน์มากขึ้น

เรื่อง แรงขับเคลื่อนและพลังงานจน

- รถกระป๋อง , รถหลอดด้าย

ความรู้ที่ได้รับ

-  เกิดจากการใช้แรงให้เกิดพลังงานขึ้นทำให้รถแล่นไปได้เอง ซึ่งก็สามารถเปลี่ยนรูปแบบได้หลากหลายขึ้น

เรื่อง แรงเหวี่ยงและความหนาแน่น

- แรงเหวี่ยง , เหวี่ยงมหาสนุก  เป็นการเหวี่ยงสิ่งของให้เข้าในวัตถุที่รับให้ได้  ถ้าเป็นเด็กเล็กให้ปรับเป็นขนาดใหญ่
- ความหนาแน่น , น้ำกับน้ำมัน

ความรู้ที่ได้รับ

- น้ำมีความหนาแน่นมาก , น้ำมันจะมีความหนาแน่นน้อย

5. การทดลอง

เรื่อง  สมบัติของน้ำ

ภาพประกอบกิจกรรม


ใส่น้ำลงไปในกรวยทั้ง 2 ข้าง ถือเท่ากัน ระดับน้ำเท่ากัน

ใส่น้ำลงไปในกรวยทั้ง 2 ข้าง ถือข้างหนึ่งสูงกว่า แต่ระดับน้ำเท่ากัน

เมื่อมีที่แคบน้ำจะพุ่งสูงขึ้นมา

ความรู้ที่ได้รับ

-  น้ำเป็นของเหลว  ไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ และรักษาระดับให้เท่ากันเสมอ  แต่เมื่อมีที่แคบก็จะทำให้เกิดการพุ่งน้ำสูงขึ้นมา

เรื่อง ดอกไม้บาน

วิธีการทำ

1. พับกระดาษ 2 ทบ
2. วาดลายดอกไม้บริเวณมุมแล้วตัดตามลาย
3. วาดเกสรของดอกไม้ตรงกลาง
4. พับกลีบดอกไม้เข้าหาเกสรให้อยู่ตรงกลาง
5. นำดอกไม้ที่พับไว้ไปลอยในน้ำ และสังเกตการทดลอง "ดอกไม้บาน"

ภาพประกอบกิจกรรม


เมื่อดอกไม้อยู่ในน้ำกลีบจะค่อยๆ บานออกมาเรื่อยๆ

กระบวนการทดลอง

- ตั้งปัญหา
- ตั้งสมมติฐาน
- ทดลอง

ความรู้ที่ได้รับ

-  น้ำจะเข้าไปซึมเยื่อกระดาษ  ซึ่งกระดาษจะมีช่องว่างทำให้น้ำสามารถไหลเข้าไปหาที่อยู่บริเวณดอกไม้  ก็จะทำให้ดอกไม้ค่อยๆ บานออกมา  และเมื่อน้ำโดนสีของเกสรก็จะทำให้สีละลายตามน้ำ  เมื่อสีชนกันก็จะเกิดสีใหม่   การทดลองนี้จะทำให้เด็กเห็นความแตกต่างของดอกไม้แต่ละดอก และเกิดความคิดสร้างสรรค์ด้วย

การนำไปใช้

- ร้านขายดอกไม้ , ดอกไม้แช่น้ำก็จะบานออก
- เส้นหมี่  การถนอมอาหารโดยดูดน้ำออก
- กระดาษทิชชู่ , สำลี  ซึมซับน้ำ

6. คำศัพท์

1. Image  persistence = ภาพติดตา
2. The blow  = แรงเป่า
3. Move ment = การเคลื่อนที่
4. Energy poverty  =  พลังงานจน
5. Flow  = การไหล

การนำไปประยุกต์ใช้   


- ฝึกคัดลายมือให้คล่องแคล่วมากขึ้น
- สามารถนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการเรียนการสอนได้  เช่น การทดลอง การสังเกต
- ออกแบบกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ เช่น การประดิษฐ์ของเล่น
- มีการทดลองเพื่อหาข้อมูลไปสู่การนำไปใช้  เช่น  การใช้กระดาษทิชชู่ซับน้ำ
- รู้จักวิธีการประดิษฐ์สื่อหรือของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาศตร์ได้มากขึ้น

การประเมิน    


ประเมินอาจารย์

- อาจารย์มาตรงเวลา  มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจง่าย เพราะอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้อย่างละเอียดทุกเรื่อง มีคำแนะนำและรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาอยู่เสมอ  ใช้คำถามประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมระหว่างการเรียน เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้ถามและอธิบายให้เข้าใจ  มีกิจกรรมและสื่อที่น่าใจ ให้นักศึกษาได้ลองทำด้วยตนเอง ว่าจะได้ผลอย่างไร ทำให้สนุกเพลิดเพลินพร้อมได้รับความรู้เกี่ยวกับสื่อและของเล่นที่ได้ลองทำด้วย ซึ่งทำให้นักศึกษาสนใจการเรียนมากขึ้นค่ะ

ประเมินตนเอง

- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ อาจไม่เข้าใจบางเรื่องแต่ก็พยายามที่จะเข้าใจให้ได้ค่ะ    จดความรู้ที่ได้รับ และทดลองเล่นสื่อและของเล่นที่อาจารย์นำมาให้ และรู้ว่ามีประโยชน์หลากหลาย ซึ่งสามารถนำไปทำและปรับเปลี่ยนรูปแบบได้

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถามให้ความร่วมมือในกรทำกิจกรรม พยายามหาคำตอบ และรับฟังคำนำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการสอน สนใจสื่องและะของเล่นที่อาจารย์นำมาให้ทดลอง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมตลอดจนจบคาบเรียน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้น เคลื่อนไหว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น