
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์สอนชดเชยรวมครั้งที่ 1และ2 อาจารย์เริ่มแจกกระดาษให้คนละแผ่น และคุยเรื่องงานที่ต้องทำกันว่ามีอะไรบ้าง อาจารย์ให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันเวลาตัดสินใจในแต่ละเรื่อง บอกถึงองค์ประกอบของบล็อก และอธิบายว่ารายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึงอะไร เกี่ยวกับอะไร และสำคัญอย่างไรสำหรับเด็ก และสอนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม อาจารย์สอนอย่างละเอียดในเรื่องที่สอน นักศึกษาตั้งใจฟังและจดบันทึกระหว่างเรียน
เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ
(1) องค์ประกอบของบล็อก (ภาษาอังกฤษ)
- นาฬิกาและปฏิธิน
- สถิติของบล็อก
- รูปโปรไฟล์
- อาจารย์ผู้สอน
- หน่วยงานสนับสนุน
- แนวการสอน
- วิจัย , บทความ , สื่อต่างๆ
- คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน 5 คำ
หัวข้อบล็อก
- ความรู้ที่ได้รับ
- การนำไปใช้
- การประเมิน
(2) วิทยาศาสตร์ คือ การสืบค้นหาความจริงโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ความรู้ หาข้อเท็จจริงในเรื่องวิทยาศาสตร์
เนื้อหา เช่น โลก , ดาราศาสตร์ , สิ่งแวดล้อม
สาระสำคัญ คือ ธรรมชาติ , สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก , บุคคลสถานที่
ให้สังเกตเรื่องที่ใกล้ตัว , มีผลกระทบอย่างไร และสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- การสังเกต
- การทดลอง
- การสำรวจ
- การวิเคราะห์
- การตั้งสมมติฐาน
- กำหนดขอบข่ายปัญหา ประกอบด้วย ความอยากรู้ , ปัญหา
- สรุป
* ยกตัวอย่าง (ไก่ดิบ) *
- ทำอย่างไรถึงจะได้กิน
- ตั้งสมมติฐาน
- ทดลอง
- รวบรวมข้อมูล
- สรุปอ้างอิงกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้
แนวคิดพื้นฐานธรรมชาติ
1) การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ สภาพอากาศ
2) การปรับตัว
3) ความแตกต่าง
4) การพึ่งพาอาศัยกัน
5) ความสมดุล
เครื่องมือในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1) ภาษา
2) คณิตศาสตร์
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1) อยากรู้อยากเห็น
2) ปัญหา
3) พยายาม
4) ระมัดระวัง รอบคอบและซื่อสัตย์ มีระเบียบ
5) เชื่อตามเหตุและผล
6) มีใจกว้าง นำเสนอและขยายผลได้
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
- สะดวกสบายมากขึ้น
- ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆที่หลากหลาย
- เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
(3) เด็กปฐมวัย คือ เด็กที่มีพัฒนาการเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องตามลำดับอายุและตามความสามารถของเด็กที่แสดงออกของแต่ละคนตามวัย พัฒนาด้านต่างๆนั้นจะบ่งบอกความสามารถของเด็กและสามารถทำให้ตอบสนองต่อพัฒนาการของเด็กได้
การเรียนรู้ของเด็ก
- เด็กจะเรียนรู้จากการปรับตัว เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ และการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้
วิธีการเรียนรู้โดยลงมือกระทำอย่างอิสระและใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเลือกตัดสินใจเองได้ คือ การเล่นของเด็ก
(4) คำศัพท์
1. Hypothesized = การตั้งสมมติฐาน
2. Curious = อยากรูอยากเห็น
3. Fact = ข้อเท็จจริง
4. Balance = ความสมดุล
5. Expression = การแสดงออก
การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการเรียนการสอนได้
- ออกแบบกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ โดยการหาเรื่องที่ใกล้ตัว , มีผลกระทบและสิ่งที่เกิดขึ้นขณะนั้น
- มีการทดลองเพื่อหาข้อมูลไปสู่การนำไปใช้
- รู้จักการสังเกต , วิเคราะห์ , ตั้งสมมติฐาน และกำหนดขอบข่ายปัญหา
- การให้เด็กลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
การประเมิน
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มาตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่ดีและเข้าใจง่าย เพราะอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้อย่างละเอียดทุกเรื่อง มีคำแนะนำและรับฟังความคิดเห็นนักศึกษาอยู่เสมอ ใช้คำถามประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตนเอง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมระหว่างการเรียน เมื่อมีข้อสงสัยอาจารย์จะเปิดโอกาสให้ถามและอธิบายให้เข้าใจ
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ อาจไม่เข้าใจบางเรื่องเพราะครั้งแรกคิดว่าครั้งต่อไปจะทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ พยามคิดและหาคำตอบเมื่ออาจารย์ถาม
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเมื่ออาจารย์ถาม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม พยายามหาคำตอบ รับฟังคำแนะนำของอาจารย์ระหว่างการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น